วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ซุ้ม SoyTun รับ ทำ ตู้ ลำโพง







สบู่ดำ

วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2550 โดย บ้านเมืองออนไลน์สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันเพื่อพลังงานที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่นอกเหนือไปจากพืชน้ำมันอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ทั้งในด้านของการบริโภคและพลังงานในเวลาเดียวกันแล้ว สบู่ดำยังมีความแตกต่างจากพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ มีเพียงการนำมาใช้สำหรับการเป็นยารักษาโรคเท่านั้นซึ่งก็ยังคงไม่ได้รับความสนใจที่แพร่หลายมากนัก แต่ยังคงมีบางกลุ่มที่นำมาใช้ในการทำเครื่องสำอางและน้ำมันหล่อลื่น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้สบู่ดำได้มีการส่งเสริมปลูกในประเทศไทยกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์กรในสังกัดกรมวิชาการเกษตรและองค์กรของรัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการเน้นหนักในเรื่องของนำมาเป็นพลังงานทางการเกษตร เช่น เครื่องกลการเกษตรกรที่ใช้ในระดับหมู่บ้าน ใช้เป็นพลังงานที่ใช้กับเครื่องยนต์ภายในครัวเรือน ขณะที่รัฐบาลเองนั้นยังคงให้การสนับสนุนและชูนโยบายของการเป็นพืชพลังงานทดแทนด้วยนายอีฟ ลาเซนท์ (Mr.Yves Leysen) กรรมการผู้จัดการ บ.Eurasis Consolidate ประเทศเบลเยียม กล่าวว่า จากภาวะน้ำมันจากปิโตเลียม ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งภาวะวิกฤติโรคร้อน ที่ทำให้ทั่วโลกต้องหันกลับมาสนใจที่จะหาพลังงานทดแทนที่เรียกว่า พลังงานสะอาด ซึ่งได้จากพืชน้ำมันต่างๆ มาทดแทนให้มากขึ้น จากวิกฤติรวมถึงความเอาใจใส่จากทั่วโลกทำให้พืชน้ำมันถูกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก บ.Eurasis Consolidate ในฐานะตัวแทนของบริษัท Cintras NV และ บริษัท Layzen แห่งประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความสนใจที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้การสนับสนุนต่อกลุ่มเกษตรกรเพื่อการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช สบู่ดำ และรับผลผลิต สบู่ดำ ทั้งหมดเพื่อนำมาจำหน่ายให้กับบริษัทฯ คู่ค้า เพราะเรามองว่า สบู่ดำ เป็นพืชที่ให้น้ำมันได้สูงและปลูกง่าย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่แห้งแล้งในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง รวมทั้งแอฟริกา และอินเดีย ประเทศในกลุ่มยุโรปได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งพืชทดแทนน้ำมันนี้ที่ผ่านมาได้มีการทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสบู่ดำมาจนเป็นที่น่าพอใจจึงได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชพลังงานทดแทนนี้ขึ้นมาในประเทศไทย โดยเลือกเอาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคตะวันตก เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อเป็นการสนับสนุนการปลูกพืชสบู่ดำในประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องของการประกันการรับซื้อผลผลิตที่ทาง บ.Eurasis Consolidate ได้อนุมัติงบประมาณในการลงทุนด้วยการผ่านระบบการจัดการทางการเงินมายังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. โดยให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการเงิน รวมถึงการกำหนดระบบและรูปแบบการดำเนินการในรูปของวิสาหกิจชุมชนพืชผลทางการเกษตร อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยเลือกพื้นที่เป้าหมายนำร่อง คือ ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจะขยายต่อไปยังกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้ได้พื้นที่เพาะปลูกเป็นไปตามเป้าหมาย ตามระยะเวลาของโครงการ คือ 1,000,000 ไร่ ภายใน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ต้องการส่งเสริมภาคการเกษตรอย่างแท้จริง โดยให้ทางวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชผลทางการเกษตร และกลุ่มผู้บริหารจากต่างประเทศ คือ Eurasis Consolidate co.Ltd. จึงได้ประกาศเปิดตัวเพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์และความมั่นใจให้กับกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการตลาดที่จะรองรับผลผลิตที่เกิดขึ้น โดยที่ทางบริษัทได้ตอบคำถามในเรื่องของการผู้ให้การสนับสนุน แหล่งที่มาของเงินทุน การดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนต่างๆ และในเรื่องของการประกันการซื้อคืนผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะประกอบกิจกรรมที่ส่งเสริมรายได้อันมั่นคงแก่ภาคเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดนั้นจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงของวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชผลทางการเกษตร อ.เมืองขอนแก่น เท่านั้นด้าน นางวรางคณา นาสมใจ ประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตพืชผลการเกษตร อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ภาพรวมของ จ.ขอนแก่น ขณะนี้นั้นมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรวมกว่า 1,000 ราย ในพื้นที่ 5 จังหวัดรวมแล้วกว่า 15,000 ไร่ ขณะที่การผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกสบู่ดำเพื่อส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มประเทศเพื่อผลิตพลังงานทดแทนนั้นจะมีการขยายให้ครบ 1,000,000 ไร่ ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นที่สำคัญที่สุดคือการเชิญชวนให้เกษตรกรที่มีพื้นที่ไร่นาในที่ดิน หรือมีดินกรวดมากกว่าดินร่วมให้กันมาปลูกสบู่ดำโดยทั้งหมด แทนที่จะปลูกอ้อย หรือมันสำปะหลัง เพราะการปลูกสบู่ดำนั้นถ้ามีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตและจำหน่ายผลผลิตในแบบกลุ่มอย่างมีระบบแล้วที่สำคัญที่สุดคือการที่จะมายึดอาชีพของการปลูกพืชพลังงานทดแทนดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันไม่ให้คนอีสานทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองและอพยพแรงงานออกนอกพื้นที่ จนเกิดปัญหาเรื่องหนี้สินและความเดือดร้อนของครอบครัวตามมา ดังนั้นการเข้ามาส่งเสริมโดยที่มีแหล่งกระจายสินค้าหรือ บริษัทที่จะมารองรับการรับซื้อด้วยการประกันราคาอย่างนี้แล้วนั้นเชื่อว่า จะสามารถยกระดับคนอีสานที่ประกอบอาชีพเกษตรกรได้ดีมากขึ้น เพราะในการลงนามความร่วมมือและการประกันราคาดังกล่าวนี้นั้นมีสัญญานานถึง 10 ปี ทีผ่านมาทางกลุ่มฯ ได้มีการประสานงานกับกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนจากต่างประเทศมาโดยตลอดตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการนำผู้แทนจากกลุ่ม บริษัทฯ จากประเทศเบลเยียม ร่วมกับผู้แทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่สำรวจแปลงสบู่ดำตัวอย่างจากแหล่งต่างๆ รวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างทั้งข้อดีและข้อเสีย จนทำให้พบว่าสบู่ดำที่ปลูกในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการมีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวเองได้สูง จึงสมควรที่จะได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งภายหลังจากการรวบรวมข้อมูลแล้วนั้น ทั้งตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ปลูกสบู่ดำอาชีพ จากแปลงสาธิตของมหาวิทยาลัยชื่อดัง และข้อมูลจากนักวิชาการหลายท่าน ทำให้กลุ่มวิสาหกิชุมชนฯ มั่นใจ และพร้อมที่จะดำเนินการสนับสนุนการปลูกสบู่ดำในภาคพื้นตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจึงได้ทำสัญญาตกลงร่วมกันระหว่าง บริษัท Eurasis Consolidate (ประเทศไทย) และ กลุ่ม บริษัท Cintras NV ทำการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกสบู่ดำในประเทศไทย โดยในสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่า ทั้ง 2 บริษัทจะให้การสนับสนุนในด้านของเงินลงทุน โดยที่วิสาหกิจชุมชนผลิตผลการเกษตร จะเป็นผู้บริหารจัดการในด้านของการส่งเสริมการปลูก และรวบรวมผลผลิตทั้งหมด โดยเมื่อผลผลิตออกมาแล้วนั้น ทั้ง 2 บริษัทและ บริษัทในเครือจะรับซื้อคืนทั้งหมด โดยจะเรียกคืนผลผลิตก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้ โดยที่กลุ่มวิสาหกิจฯ จะเป็นคนรวบรวมผลผลิตทั้งหมด นำส่งให้กับทางบริษัททางเรือต่อไป นางวรางคณา กล่าวในที่สุด.....สมบูรณ์ สุขชัยบวร/จักรพันธ์ นาทันริ/ขอนแก่น

กังหันลม


กังหันลม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่:
ป้ายบอกทาง, ค้นหา

Wind turbines
กังหันลม(Wind turbine) คือ
เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับและแปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ และนำพลังงานกลมาใช้เพื่อสูบน้ำโดยตรงหรือผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณจนถึงยุคปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลักวิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน และประสิทธิภาพสูงสุด

รูปแบบเทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลมสามารถแบ่งออกตามลักษณะการจัดวางแกนของ
ใบพัดได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine (VAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่นที่ของลมในแนวราบ
กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Turbine (HAWT)) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม

ส่วนประกอบของเทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลมเพื่อสูบน้ำ (Wind Turbine for Pumping) เป็นกังหันลมที่รับ
พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกลเพื่อใช้ในการชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเพื่อใช้ในการเกษตร การทำนาเกลือ การอุปโภคและการบริโภค ปัจจุบันมีใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบระหัดและแบบสูบชัก
กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Wind Turbine for Electric) เป็นกังหันลมที่รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล จากนั้นนำพลังงานกลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีการนำมาใช้งานทั้ง กังหันลมขนาดเล็ก (Small Wind Turbine) และกังหันลมขนาดใหญ่ (Large Wind Turbine)

เซลล์พลังงานเชื้อเพลิง


พลังงานคลอดไบโอดีเซลผสมไม่เกิน 5%
กรมธุรกิจพลังงานออกประกาศมาตรฐานคุณภาพน้ำมันบี 5 ไบโอดีเซล ชี้ค่ายรถยนต์ยอมรับใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ เดินหน้าพัฒนาให้ถึงปี 10 ในปี 2555 นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้เปิดเผยว่ากรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศกำหมดมาตรฐานคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรมไขมัน ใช้ผสมในน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนไม่เกิน 5% โดยปริมาตร ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ยอมรับว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้น้ำมันกรมธุรกิจพลังงานจึงได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ซึ่งได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อาทิ ผู้ผลิตไบโอดีเซล ผู้ค้าน้ำมัน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ กรมควบคุมมลพิษ เพื่อให้น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มีมาตรฐานเดียวกัน เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งเมื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันดีเซลบี 5 (น้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซล 5%) จะได้น้ำมันที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องยนต์ “การส่งเสริมไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ระยะแรก จะส่งเสริมให้มีการใช้ที่อัตราส่วนไม่เกิน 5% โดยน้ำมันดีเซลบี 5 จะยังคงมีคุณภาพเช่นเดียวกับน้ำมันดีเซล บริษัทรถยนต์ยอมรับว่าสามารถใช้งานกับรถยนต์ได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่การใช้ในอัตราส่วนที่สูงกว่านี้จะมีผลให้คุณภาพของน้ำมันแตกต่างไปจากน้ำมันดีเซลทั่วไป” นายพานิช กล่าว นายพานิช กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ใช้น้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซลที่อัตราส่วน 10% (น้ำมันดีเซลบี 10) ในปี 2555 อยู่แล้ว ระหว่างนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปศึกษาผลการใช้บี 10 ในเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็ว เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้พิจารณากำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซลที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในอนาคต นายพรชัย รุจิประภา รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าวันที่ 23 พฤศจิกายน นี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอโครงสร้างพลังงานในอนาคต ระยะ 15 ปี (2548 – 2563) ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อลดสัดส่วนการใช้พลังงานต่อจีดีพี จาก 1.2 ต่อ 1 ให้เหลือ 1.1 ต่อ 1 ภายใน 10 ปี และเหลือ 0.8 ต่อ 1 ใน 15 ปี นอกจากนี้ จะเสนอแนวทางการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ โดยเสนอทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากกว่า 70% โดยจะเสนอให้มีการทยอยนำถ่านหินนำเข้ามาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายจะใช้ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ในระยะครึ่งแรกของแผน หรือในระยะ 7-8 ปีข้างหน้า ดังนั้น ในการเปิดประมูลโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพีต้นปีหน้า เพื่อจัดหาไฟฟ้าเข้าระบบหลังปี 2553 น่าจะมีโอกาสใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น “กระทรวงพลังงานจะเสนอทางเลือกให้นายกฯ พิจารณาว่าจะเลือกสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงอย่างไรในอนาคต” นายพรชัย กล่าว แหล่งข่าว: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

รถพลังงานไฟฟ้า

"มินิบัสไฮบริด" ต้นแบบรถพลังงานไฟฟ้า-แสงอาทิตย์ รับ-ส่งคนเมือง
-->
สภาวิจัยแห่งชาติเปิดตัว “มินิบัสไฮบริดไฟฟ้า-แสงอาทิตย์” เผยชาร์จไฟ 50 บาทแล่นได้ทั้งวัน ขณะที่มีต้นทุนต่ำ ตัวต้นแบบใช้ทุนไม่เกิน 3 ล้านบาท ด้านหัวหน้าทีมพัฒนาเชื่อหากได้ลองวิ่งให้บริการในกรุงเทพฯ จะคืนทุนได้ใน 1 ปี แถมไร้เสียง-ควันรบกวน ต่อไปจะทำให้มีต้นทุนต่ำกว่า 2 ล้านบาท วอนกรุงเทพฯ - ขสมก พิจารณา ส่วนยานยนต์ต้นแบบเตรียมตบแต่งเพิ่มเติมก่อนทูลเกล้าถวายฯ ฉลองราชย์ – 80 พรรษา
ภายหลังให้การสนับสนุนการสร้างต้นแบบยานยนต์สาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์มาได้ประมาณครึ่งปี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก็ได้ฤกษ์จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “รถเมล์พลังงานแสงอาทิตย์” แล้ววันนี้ (26 ธ.ค.) ณ อาคารสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ บางเขน กรุงเทพฯ โดยเป็นการวิจัยพัฒนาของ พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ ประธานบริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอยี เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด ในฐานะหัวหน้าโครงวิจัยและคณะ
พล.อ.ท.มรกต เปิดเผยว่า หลังจากทางโครงการได้รับการสนับสนุนเงินทุนการวิจัยพัฒนารถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก หรือ “รถเมล์มินิบัส” ที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นจำนวนเงิน 8.5 ล้านบาท เมื่อประมาณ 7 เดือนก่อน เวลานี้นักวิจัยสามารถพัฒนาต้นแบบยานยนต์ที่พร้อมใช้งานได้แล้ว โดยมีต้นทุนการผลิตเพียงประมาณ 3 ล้านบาท/คัน เท่านั้น
ทั้งนี้ รถยนต์ต้นแบบดังกล่าวเป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง กว้าง 2 ม. ยาว 7 ม. และสูง 2.7 ม. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู หรือเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ตามบ้าน พร้อมจอโทรทัศน์ขนาด 42 นิ้ว เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับข่าวสารและความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน โดยรถยนต์ต้นแบบนี้จะทำงานด้วยระบบจ่ายพลังงานแบบลูกผสมหรือ “ไฮบริด” คือ พลังงานไฟฟ้าที่ต้องชาร์จไฟทุกวันๆ ละ 8 ชั่วโมงภายหลังจากแล่นให้บริการมาตลอดวันแล้ว หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้าต่อการชาร์จประมาณ 50 บาท/ครั้ง
ขณะที่แหล่งจ่ายพลังงานอีกระบบหนึ่งคือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จากโซลาร์เซลล์บนหลังคารถจำนวน 10 แผง ซึ่งมีขนาดกว้าง 0.66 ม. ยาว 1.5 ม. โดยเป็นเซลล์แสงอาทิตย์แบบมัลติคริสตัลไลท์ (Multi crystallize) ที่มีประสิทธิภาพการแปลงแสงแดดเป็นพลังงานได้สูงสุด 18% รถดังกล่าวแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 50-60 กม./ชม. และเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร ทางทีมวิจัยยังได้ติดตั้งระบบขับเคลื่อน ระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว และระบบกันสะเทือนไว้อย่างรัดกุมและผ่านการทดสอบแล้วในทุกระบบ
ส่วนข้อดีของรถเมล์แสงอาทิตย์ต้นแบบดังกล่าว พล.อ.ท.มรกต ชี้ว่าได้แก่ การวิจัยพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ให้กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น การออกแบบวิศวกรรมยานยนต์ที่สอดคล้องกับการใช้งาน รวมถึงสอดคล้องกับกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดี เนื่องจากรถมินิบัสพลังงานแสงอาทิตย์จะไม่ทำให้เกิดก๊าซพิษ ฝุ่นควัน แถมเครื่องยนต์ยังทำงานได้เงียบ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางเสียง จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่กรุงเทพมหานคร และองค์การขนส่งมวลชน (ขสมก) ได้พิจารณาต่อไป โดยจากการคำนวณเบื้องต้นแล้ว รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์นี้จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี หลังจากนั้นในปีที่ 2 และปีที่ 3 ของการใช้งานก็จะเป็นผลกำไรที่ผู้ประกอบการจะได้รับทั้งหมด
จากคุณสมบัติที่กล่าวมา รถยนต์ต้นแบบนี้จึงเหมาะสมกับการแล่นให้บริการด้วยระยะที่ไม่ยาวนักได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับตัวเมืองที่มีการจราจรคับคั่งอย่างในกรุงเทพฯ อาทิ ถนนในย่านสุขุมวิท เยาวราช สาธร พระราม 9 ฯลฯ เนื่องจากระหว่างที่รถแล่นไปด้วยความเร็วไม่สูงนักก็จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากเพียงพอกับการใช้งานตลอดทั้งวัน ขณะนี้ได้มีเอกชนบางรายให้ความสนใจติดต่อสั่งขอแล้วในราคาคันละ 5 ล้านบาท ทว่าจุดอ่อนของรถยนต์นี้คือระบบพลังงานแสงอาทิตย์อาจจ่ายไฟได้ไม่ทุกวัน โดยเฉพาะในบางวันที่ไม่มีแสงแดดหรือมีฝนตก ซึ่งต้องหันไปพึ่งพลังงานไฟฟ้าแทน
ขณะที่ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตนั้น พล.อ.ท.มรกต เผยว่า ทาง วช.ได้เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการที่สนใจรับไปขยายผลต่อในเชิงพาณิชย์ได้ทันที โดยเอกชนนั้นๆ จะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์กับ วช.เพื่อนำเงินรายได้ที่ได้เข้าสมทุบกองทุนการวิจัยพัฒนาของ วช. บ้างราว 30% ของผลกำไรทั้งหมด ส่วนอีก 70% จะตกเป็นของผู้ประกอบการ ซึ่งจากการผลิตยานยนต์ดังกล่าวด้วยเทคโนโลยีของตัวเองและใช้วัสดุการผลิตในประเทศแล้ว ก็เชื่อว่าหากมีการผลิตในปริมาณมากแล้วก็จะทำให้รถมินิบัสดังกล่าวมีราคาต่ำลงได้ถึงคันละ 1.8 ล้านบาท
ส่วนรถมินิบัสต้นแบบไฮบริดที่ได้นำมาแถลงข่าวในครั้งนี้ ทาง วช.และทีมวิจัย จะได้ตบแต่งและเปลี่ยนแปลงอีกเล็กน้อย เพื่อนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อไป เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี 2549 และเพื่อเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี 50 ที่จะถึงนี้
อย่างไรก็ตาม การวิจัยพัฒนารถมินิบัสต้นแบบพลังงานทางเลือกดังกล่าวก็ยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น แต่ทางหัวหน้าทีมวิจัยยังได้บอกเพิ่มเติมว่า ทางทีมวิจัยยังได้ศึกษาไปถึงการนำเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) แบบที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนมาปรับใช้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกให้กับรถเมล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กนี้ด้วย เวลานี้ทางคณะได้มีเทคโนโลยีการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนแล้ว โดยเฉพาะกับเทคโนโลยีถังกักเก็บก๊าซไฮโดรเจนที่ต้องมีความปลอดภัยสูง ทว่าก็ต้องรอการสนับสนุนจากภาครัฐที่เห็นควรพิจารณาให้การสนับสนุนด้วย